ภาวะ information overload ข้อมูลท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
Sirichai Teerapattarasakul / April 23, 2015
1 min read
โลกหมุนเร็วติดจรวด ผลมาจากเทคโนโลยีที่ดีขึ้นแล้วถูกลง มีเว็บต่างๆเปิดพื้นที่ให้บริการฟรีมากมาย คนนิยมโพสรูปและข้อความแสดงออกันทั้งในด้านดีและไม่ดี ข่าวต่างๆเข้ามาในโลกอินเตอร์เน็ตจริงๆมีมานานแล้ว แต่ด้วยความที่ social media อย่างเช่น facebook ได้เชื่อมข้อมูลถึงกันให้กับคนที่ต้องการจะรู้หรือ (เผือก) เรื่องชาวบ้าน
เกริ่นมาขนาดนี้ เรื่องข้อมูลที่มีมากมายนั้น เราเลือกที่จะเสพติดข้อมูลประเภทไหนมากที่สุด? หลายคนก็คงแนวผ่อนคลาย หรือดราม่า ส่วนคนกลุ่มบนึงอย่างผมเองก็เลือกที่มาอ่านข้อมูลแนว IT และ ธุรกิจ หรือ การสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งแน่นอนข้อมูลด้านนี้ก็มีมหาศาลมากนัก ประเด็นนั้นไม่เท่าไหร่ แต่ผมสังเกตได้ว่า
เราอ่านมากไปรึเปล่าวะเนี่ย !!!
บางอย่างเราอ่านแต่เราไม่ได้ใช่ ณ ตอนนั้น ความรู้บางอย่างปล่อยไปก็ได้ เพราะความรู้บางชนิดมันมีหมดอายุได้ครับ จากข้อความด้านบนสังเกตดูผมจะใช้คำว่า
เสพติดข้อมูล
การอ่านเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะหนังสือ สื่อออนไลน์ แต่เราควรเลือกเรื่องที่สนใจ และคิดว่าเร็วๆนี้ หรือภายในปีนี้น่าจะได้ใช้งานจริงๆ ล่ะ เพราะว่า ผมเห็นว่าบางอย่างถ้าเรารู้แล้วและไม่ได้นำไปใช้ ผ่านไปสักพัก
มันจะลืม
ใช่ครับมันลืมจริงๆ ไม่รู้เพราะเรามีสมองน้อยนิดไปมั้ยนะ หลังๆผมมองหัวข้อดูแล้วน่าสนใจ ปกติจะเป็นพวกเทคโนโลยี สมัยชอบอ่าน แต่แล้วก็ไม่ได้ใช้สักทีเพราะมัวแต่ทำอย่างอื่น ผ่านไปก็คิดว่าที่เราอ่านมาเสียเวลาเปล่า สู้เราโฟกัสไปเลยดีกว่า ไม่ใช่เห็นอะไรชอบเป็นกระแสก็อยากอ่านไปหมด มันจะทำให้เป็น “เป็ด” คือ
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด รู้ไม่ลึก รู้แค่ผิวๆ
แต่ถ้าเราทำไปด้วย ศึกษาหาข้อมูลเฉพาะสิ่งนั่น ยิ่งนำความรู้ที่ได้จากการอ่านใช้กับงานเข้าไปอีกล่ะเยี่ยมเลย สรุปวิธีแก้ไข ภาวะ information overload ในแบบของผมคือ อ่านเท่าที่จะต้องนำไปใช้ภายในไม่ช้านี้ เพราะจะได้ประโยชน์สูงสุด ไม่เสียเวลาเปล่า ส่วนพวกดราม่า ก็พยายามอย่าอ่านมากนะครับ เพราะอ่านแค่หัวข้อเท่านั้นมันจะพาคุณเข้าไปเสพแบบใช้เวลานานกว่าจะรู้ตัวอีกที เฮ้ยกุมาอยู่ที่นี่ได้ไงกัน !!!
ขอจบบทความไว้แต่เพียงเท่านี้นะจ๊ะ ผิดถูกอย่างไรแล้วแต่แนวทางการทำงานการใช้ชีวิตของแต่ล่ะคน ถ้ามีเวลามากก็อ่านโลด !!