นิวรณ์ 5 ภาษามนุษย์
Sirichai Teerapattarasakul / December 13, 2017
2 min read
ถึงแม้ตัวผมเองจะไม่เคยบวชหรือเข้าวัดมากเหมือนคนอื่นๆ แต่เรื่องไหนหากเกิดปัญหาในชีวิตนอกจาก ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาแล้ว สุดท้ายชีวิตก็หนีไม่พ้น “ธรรมะ”
ความทุกข์มาคู่กับความสุขอันนี้ผมรู้ตัวมานานแล้ว และได้พยายามฝึกให้รู้เท่าทันจิตตัวเอง (ยากเหมือนกันนะ) เคยทำได้เป็นปีๆ แต่พอหยุดฝึกแค่นั้นล่ะครับ กลับมาอีก
ส่วนตัวคิดว่ามันเหมือนกับการออกกำลังกายนะ คือถ้าเราหยุดร่างกายก็จะทรุดโทรม ไม่แข็งแรง กระฉับกระเฉง หรืออ้วนน้ำหนักเพิ่ม ธรรมะก็เช่นกัน …
นิวรณ์(อ่านว่า นิ-วอน) (บาลี: nīvaraṇāna) แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือทำให้เลิกล้มความตั้งใจปฏิบัติไป
ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/นิวรณ์
จากที่ลองศึกษามาสักระยะนึง นิวรณ์ 5 “มันเป็นตัวขวางกั้นความดี” ขออธิบายสั้นๆ เพื่อบันทึกส่วนตัวไปด้วยเลย ตัวกีดขวางความดีทั้ง 5 มีอะไรบ้าง
1. กามฉันทะ (อยากมีอยากได้)
คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ความยินดี ความพอใจ กับ รูป รส กลิ่น เสียง หรือ พอใจกับอะไรบางอย่างก็แล้วแต่ ทำให้มีความสุขสบายใจ ลั๊นลา มากไปมันก็หลง และลืมตัว ยึดติด ทีนี้ล่ะงานเข้า คือเราจะยึดๆๆติดๆๆๆ หงุดหงิด ไม่ความสุข ส่วนตัวไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ แต่ก็มีบ้างนิดหน่อยซึ่งน้อยมาก รอดไปหนึ่งอย่างล่ะเรา
วิธีแก้ : หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น (เลิกเผือก !)
2. พยาปาทะ (โกรธเกลียด)
คือ ความโกรธ ความเกลียด ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ อารมณ์คนมายืมเงินแล้วไม่คืนผ่านไปแล้วเรายังฝังใจอยู่ ยังพยาบาทอยู่ หรือคนโพสโซเชียลแต่ดันไปอิจฉาเขา พาลเกลียดหมั่นไส้ซะงั้น (อันนี้แนะนำเลิกเล่นครับได้ผลชะงัก ผมก็เป็นนิสัยเสียจริมๆ เรา 555+ …) โซเชียลมีเดีย (Social Media) นี่ตัวดีเลยนะทำให้เราดราม่า โกรธเกลียดใครก็ไม่รู้ คือไปบ้าตามเขาซะงั้นสำหรับผมถ้าจิตไม่แน่นพอ เลิกเล่นเถอะครับ
วิธีแก้ : หยุดยุ่งเรื่องชาวบ้าน (เลิกเผือก !)
3. ถีนมิทธะ (เบื่อเซ็ง)
คือ อาการเซื่องซึมเบื่อเซ็ง มันทำให้เรา หดหู่ ท้อถอย ย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะงาน ออกแนวหมดไฟ แรงจูงใจขาดหาย ไม่รู้ใครเคยเป็นมั้ย! แต่ผมก็ประสบปัญหานี้อยู่คือ เบื่อๆ เหงาๆ ขี้เกียจ บางครั้งก็รู้สึกง่วง อ่อนเพลีย รู้ว่าต้องทำงานแต่ไม่ทำเต็มที่มันไม่สุด
วิธีแก้ : โฟกัสและตั้งเป้าหมาย ถ้าเริ่มง่วงลุกขึ้นเดิน หรือทำอะไรก็ได้เดี๋ยวหายง่วงเอง
4. อุทธัจจกุกกุจจะ (ฟุ้งซ่านกังวล)
คือ ความฟุ้งซ่าน คิดเลื่อนลอยเรื่อยเปื่อย คิดไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที คิดเยอะเกินคิดได้สารพัด “สมาธิสั้น” โฟกัสงานไม่ได้ไหลไปเรื่อย ถ้าคนทั่วไปก็จะไหลเสียเวลาไปกับทีวี แต่ผมเองจะเสียเวลากับอินเตอร์เน็ต และ Social Media รู้ตัวอีกทีหายไปเป็นชั่วโมงแล้ว ! ทีนี้พอรับรู้เยอะซึ่งไม่ใช่เรื่องสาระสำคัญเลยมันก็ทำให้เรา “ความรำคาญใจ เกิดจากความกังวลใจ “ ไปกันใหญ่ใจคิดลบวนกลับมาฟุ้งซ่าน คิดนู่นนี่ ไหลวน วนไปๆๆ … ไม่จบสิ้น
วิธีแก้ : ลดหรือเลิกดูทีวี โซเชียลมีเดีย (เลิกเผือก !)
5. วิจิกิจฉา (ลังเลสงสัย)
คือ ความไม่แน่ใจลังเลสงสัย อันนี้มักเกิดบ่อยๆ กับตัวเองเหมือนกัน คือ จะเรื่องใช้เครื่องมืออะไรดีในการทำงาน Research อยู่นั่นล่ะ! อ่านอยู่นั่นล่ะ! เปรียบเทียบดูคนโน้นคนนี้ที สุดท้ายการลงมือทำแทบไม่มีเลย “เปล่าประโยชน์” และก็จบไปทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ทำ …
วิธีแก้ : หาข้อมูลแค่ 2-3 แห่งก็พอ และลงมือทำเลย! (เดี๋ยวรู้เองว่า Work มั้ย)
สรุป
วิธีแก้ไขที่ผมทำอยู่ค่อนข้างได้ผลคือ “หักดิบเลิกเล่น Social Media ไปเลย” ทีวีโทรทัศน์ผมดูน้อยมาก บางวันแทบไม่ได้ดู มาติด Youtube แทน 5555+ ปรับแก้กันต่อไป
มันทำให้เราหยุดรู้เรื่องชาวบ้านไปเยอะมาก และที่สำคัญฝึกรู้ตัวรู้ทันจิตบ่อยๆ ว่าจะคิดไม่ดี ก็รีบเปลี่ยนไปคิดอย่างอื่นแทน ทำบ่อยๆ มันจะดีขึ้น และต้องทำไปตลอดชีวิต เพราะว่ามันจะลืมแล้วกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีก คือ “เผลอคิดไม่ดีคิดลบ” นั่นเอง
เมื่อรู้เรื่องชาวบ้านน้อยลง ชีวิตจะมีความสุข
เนื้อหานั้นผมเพียงสรุป เพื่อให้ตัวเองเข้าใจให้มากขึ้นกลับมาอ่านก็จะได้รู้เลยว่า เราโดนข้อไหนจะได้ปรับแก้ รู้ทันสติตัวเอง
มันเป็นวิธีสำหรับคนจิตใจไม่เข้มแข็งอย่างผม ส่วนใหญ่จะหักดิบลดหรือเลิกเสพย์สื่อไม่ดีเลยก็ว่าได้ ส่วนในความหมายเชิงธรรมะ อาจจะไม่ได้ตรงชัดเจน แต่สำหรับคนธรรมดาน่าจะเข้